ปฐมชลประทาน ใน ร.ร.ตชด.เฉลิมพระเกียรติฯ
บทคัดย่อ
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติฯบ้านโรงเลื่อยได้ดำเนินการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ระบบการใช้น้ำอย่างประหยัดมีคุณค่าและสนับสนุนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านการเกษตร โภชนาการ การแปรรูปและถนอมอาหารแก่ครู
นักเรียน และผู้ปกครอง สร้างทักษะทางด้านการเกษตรให้แก่นักเรียน
การชลประทานเบื้องต้น การโภชนาการ การพึ่งตนเอง การทำงานเป็นหมู่คณะ
รวมถึงการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การใช้น้ำอย่างมีคุณค่า และใช้ระบบหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ น้ำคือชีวิต
ความสำคัญของน้ำ น้ำเป็นทรัพยากรสำคัญยิ่ง เป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต คน พืช
สัตว์ และใช้เพื่อการเกษตร ร้อยละ 70 เพื่อการบริโภค อุปโภค การคมนาคม อุตสาหกรรม
เพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ ร้อยละ 30
ความสำคัญของ “วิธีปฏิบัติที่ดี”
เนื่องจากในพื้นที่และเขตบริการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติฯบ้านโรงเลื่อย
ปัจจุบันประสบปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรน้ำ มีผลกระทบเป็นอย่างมากและจะส่งผลต่อเนื่องในระยะยาว
ซึ่งมีสาเหตุหลักของปัญหามาจากการขาดความร่วมมือและขาดจิตสำนึกที่ดีต่อการ ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า
ของนักเรียนและชุมชน ตลอดจนรัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้มีการอนุรักษ์ พัฒนา
และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความสมดุลกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
ตลอดจนกำหนดมาตรการประหยัดพลังงานของประเทศและตระหนักถึงความสำคัญของ "ทรัพยากรน้ำ" ที่ผ่านมาในพื้นที่ได้ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง อย่างต่อเนื่องโดยมีสาเหตุหลายประการ ได้แก่ ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
แหล่งน้ำธรรมชาติถูกบุกรุกและตื้นเขิน
ความต้องการน้ำที่เพิ่มมากขึ้นตามสัดส่วนจำนวนประชากร แหล่งเก็บน้ำไม่เพียงพอรวมทั้งนักเรียนประชาชนยังขาดความตระหนักในการใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยการใช้อย่างฟุ่มเฟือยและ
ขาดการอนุรักษ์ทำให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในด้านน้ำเสียและปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรน้ำในปัจจุบัน มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันกับทุกคนในสังคมเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยเหตุนี้
จึงมีแนวคิดริเริ่มทำโครงการปฐมชลประทานในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติฯบ้านโรงเลื่อย
วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการดำเนินงาน
1.เพื่อกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกให้นักเรียน
ผู้ปกครอง กลุ่มผู้ใช้น้ำในครัวเรือน ตลอดจนประชาชนทั่วไป เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าและการอนุรักษ์พลังงานรวมทั้งปลุกกระแสและสร้างค่านิยมในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
อย่างคุ้มค่า
2.ปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามแนวทาง
ลด ละ เลิกจนเกิดเป็นนิสัยเพื่อไปสู่แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
3.เพื่อสร้างความตระหนักในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำ
กระบวนการดำเนินงาน
การปฏิบัติระบบปฐมชลประทานใน ร.ร.ตชด
1. ระบบหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่
1.1 นักเรียนตักน้ำจากบ่อพักน้ำจากการล้างจานในโรงอาหาร
นำมารดน้ำต้นไม้/ผัก
1.2 นักเรียนตักน้ำจากบ่อคอนกรีตที่เลี้ยงปลาดุก
นำมารดน้ำต้นไม้/ผัก
2.1 นักเรียนนำขวดน้ำพลาสติกหรือขวดน้ำอัดลมเจาะรูฝาขวดน้ำ
กรอกน้ำให้เต็มขวด นำมาปักคว่ำไว้ทีโคนต้นไม้
2.2 นักเรียนวางสายระบบน้ำหยดในแปลงเกษตร
3.
ระบบการป้องกันการระเหยของน้ำ
3.1 นักเรียนนำวัสดุทีมีอยู่ในโรงเรียน
เช่นใบหญ้าแฝก ใบไม้แห้ง ฟางข้าว คลุมโคนไม้ผล/ผักสวนครัว
3.2 นักเรียนนำพลาสติก
คลุมดิน/แปลงผัก เพื่อรักษาความชุมชื้นของดิน
4. กิจกรรม “ยุวทูตน้ำ”(น้องปันน้ำ)
4.1สำรวจแหล่งน้ำที่มีอยู่ในโรงเรียน
4.2ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำในแปลงเกษตรอย่างประหยัดและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4.3ควบคุม/กำกับ/ดูแล
การใช้น้ำในระบบแปลงเกษตรประหยัดและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและรายงานผลต่อครูที่ปรึกษาทุกวัน
ก่อนเลิกเรียน
ผลการดำเนินงาน
จากการเริ่มโครงการตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2559 ผลที่ได้
1.ครู นักเรียน ชุมชนผู้ปกครอง
รู้จักการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า ร้อยละ90
2.นักเรียน มีความสามัคคี รู้จักการพึ่งตนเอง
มีการทำงานเป็นหมู่คณะใช้วัสดุธรรมชาติ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สุขภาพร่างกายแข็งแรง
ร้อยละ 90
3.นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายและกล้าแสดงออก
มีภาวะความเป็นผู้นำ ร้อยละ 90
4.ประหยัดพลังงานจากเดิมลดลง ร้อยละ 30
ประโยชน์ที่ได้รับและการเผยแพร่
1. ครู นักเรียนและชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ครู นักเรียนและชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำลดลง
3.สภาพแวดล้อมน่าอยู่
ปัจจัยความสำเร็จ
ได้รับคำปรึกษาที่ดีจากผู้บังคับบัญชา
ได้รับความร่วมมือจากคณะครูผู้ร่วมงานผู้ปกครอง ชุมชน
นักเรียนและหน่วยงานร่วมสนองโครงการตามพระราชดำริฯ
ปัญหาอุปสรรค
และข้อเสนอแนะ
1.พื้นที่ในการทำโครงการกว้าง(63
ไร่) การควบคุมของยุวทูตน้ำ ต้องใช้เวลาและจำนวนที่มากเล็กน้อย
2.แหล่งน้ำดิบในโรงเรียนลึกและกว้างยุวทูตน้ำ
มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกน้ำ
แนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง
1.เป็นแหล่งศึกษาดูงานโดยบูรณาการกับศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเดิมที่มีอยู่แล้ว
2.ขยายและพัฒนาสู่ชุมชนโดยการบูรณาการทุกภาคส่วนให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน
-
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น