วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

แผน


แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ฉบับที่ ๔ พ.. ๒๕๕๐ ๒๕๕๙
คำนำ
สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้จัดทำ แผนพัฒนาเด็ก
และเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีขึ้น
เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.. ๒๕๓๕ และจัดทำเป็นแผนพัฒนาที่มีกรอบระยะเวลา ๕ ปี สอดคล้องกับแผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยฉบับที่ ๑ ครอบคลุมช่วงปี พ.. ๒๕๓๕ ๒๕๓๙ ฉบับที่ ๒ เป็น
ช่วง พ.. ๒๕๔๐ ๒๕๔๔ และฉบับที่ ๓ เป็นช่วง พ.. ๒๕๔๕ ๒๕๔๙ ซึ่งเพิ่งสิ้นสุดไปเมื่อปีที่ผ่านมา
ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่มีการใช้แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารนั้น ทำให้เกิดความชัดเจนใน
แนวทางการทำงาน มีการระดมทรัพยากรของทุกภาคส่วนและผนึกกำลังร่วมกัน ส่งผลทำให้เด็กและ
เยาวชน และประชาชนในถิ่นทุรกันดารเป็นจำนวนมากมีโอกาสที่ดีขึ้น และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
หลายๆ ชุมชนมีการพัฒนา อย่างไรก็ตามเมื่อได้ประเมินแผนฯ ภายหลังสิ้นสุดแต่ละแผนฯ แล้ว พบว่า
ยังมีหลายอย่างที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนฯ อีกทั้งบางตัวชี้วัด เช่น การเปลี่ยนแปลงใน
พฤติกรรมของเด็กก็ยังไม่สามารถเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็กได้ชัดเจน
ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว การจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีฉบับที่ ๔ นี้ จึงได้จัดทำขึ้นเป็นแผนระยะยาว ๑๐ ปี
(.. ๒๕๕๐ ๒๕๕๙) เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนของสถานศึกษาและของทุกภาคส่วน
ที่สนับสนุนการพัฒนา และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของเด็กและเยาวชนในพื้นที่เป้าหมาย
ตลอดจนร่วมกันผลักดันการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม ทั้งนี้สามารถปรับให้เหมาะกับบริบทและ
สถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแตกต่างกันไป
สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผน
พัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราช-
กุมารีฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่
ร่วมกันปฏิบัติงาน เพื่อให้เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารได้รับโอกาสในการศึกษาและพัฒนาเท่าเทียม
ผู้อื่น มีความเข้มแข็ง สามารถดูแลและพัฒนาตนเองได้ และมีศักยภาพในการเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ อันเป็นพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

แนวพระราชดำริในการพัฒนาเด็ก
และเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีได้โดยเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ชนบทและท้องถิ่น
ทุรกันดารห่างไกลทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทรงพบว่ามีราษฎรอีกเป็นจำนวนมากที่ยังอยู่ในภาวะ
ยากลำบาก โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ไม่ได้รับโอกาสในการศึกษาพัฒนาเท่าเทียมกันทุกคน ทำให้
สนพระทัยและมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือราษฎรเหล่านั้นให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นในปี
.. ๒๕๒๓ พระองค์จึงทรงเริ่มงานพัฒนาของพระองค์เองด้วยการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ใน
ท้องถิ่นทุรกันดาร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีโอกาสได้รับความรู้และฝึกฝน
ตนเอง สามารถพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ พร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่มี
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อันเป็นแนวทางสู่ความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา ตามแนว
พระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารีทรงยึดเป็นแบบอย่างมาโดยตลอด
การทรงงานพัฒนาเด็กและเยาวชนที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยใช้การศึกษา
เป็นหลักในการทำงานพัฒนา ดังนั้นการพัฒนาเด็กและเยาวชนตามแนวพระราชดำริ จึงเป็นการเสริม
สร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนอย่างสมดุลกันทั้งด้านพุทธิศึกษา คือความรอบรู้วิชาการที่จำเป็น
สำหรับการดำรงชีวิตและการศึกษาเรียนรู้ต่อไป ด้านจริยศึกษา คือการมีศีลธรรมจรรยาที่ดี มีความ
ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม ด้านหัตถศึกษา คือความ
รู้และทักษะในการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน และ
ด้านพลศึกษา คือการมีสุขภาพแข็งแรง การกินอาหารที่ถูกต้องและการออกกำลังกายให้เหมาะสม
รวมทั้งความสะอาดและสุขาภิบาลด้วย
พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานคณะผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ
ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร วันอังคารที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๓๖.
พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสประชุมสัมมนาครูโรงเรียน สปอ. จังหวัด
นครนายก ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก วันพุธที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๓๓.
หลักการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงใช้ในการดำเนินงานพัฒนาเด็ก
และเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร สรุปได้ดังนี้
. โรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นฐานของการพัฒนา ทั้งนี้เพราะสถานศึกษา () เป็นสถานที่
ที่รวมเด็กในวัยเรียนของชุมชน ทำให้เข้าถึงเด็กได้ง่ายและครอบคลุมได้ทั้งหมด ง่ายต่อการดำเนินงาน
() เป็นสถานที่ที่มีผู้มีความรู้ คือครู ซึ่งเป็นแกนสำคัญในการถ่ายทอดให้เด็กได้พัฒนาความรู้ และทักษะ
ต่างๆ และ () เป็นสถานที่ที่คนในชุมชนเข้าถึงได้ง่าย จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้
. การพึ่งตนเอง ทรงเน้นให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้ได้รับความ
รู้และฝึกฝนทักษะทั้ง ๔ ด้าน คือพุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา ซึ่งเป็นความรู้และ
ทักษะที่นำไปใช้ได้ในชีวิตจริง และในที่สุดสามารถดำเนินการพัฒนาได้ด้วยตนเอง
. การมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการให้ประชาชนในชุมชนเข้าร่วมในทุกกิจกรรมของโรงเรียน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันจากการลงมือปฏิบัติ ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ จะถูกถ่ายทอดลงสู่ชุมชน
นำไปใช้พัฒนาชุมชนของตนเองได้ เป็นการเสริมสร้างพลังและความเข้มแข็งของชุมชน นำไปสู่การพึ่ง
ตนเอง ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
. การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ในการดำเนินการพัฒนา
ในบางครั้งจำเป็นต้องเสริมหรือสนับสนุนในส่วนต่างๆ ที่ชุมชนขาดแคลน ดังเช่น เทคโนโลยี ความรู้ วัสดุ
อุปกรณ์ งบประมาณดำเนินการบางส่วน ทั้งหมดนี้จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคลภายนอก
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งจะต้องมีการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกันแต่
สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้
ในการดำเนินงานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารนั้น เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารีทรงขยายขอบเขตของงานเพื่อให้ครอบคลุมสภาพปัญหาต่างๆ ของเด็กและเยาวชน
ในพื้นที่ และตามสถานการณ์ของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งพื้นที่ในการทรงงานก็เพิ่มขึ้นเพื่อให้
ครอบคลุมถึงคนที่มีความขาดแคลนหรือมีภาวะยากลำบากมากขึ้น พร้อมกับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่ให้
การสนับสนุนงานพัฒนาของพระองค์ท่านก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม
ราชกุมารีจึงโปรดเกล้าฯ ให้สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จัดทำ
แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางให้ทุกภาคส่วนสามารถ
ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันโดยได้เริ่มจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.. ๒๕๓๕ พร้อมกันนี้
ได้จัดทำระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลความสำเร็จของงานพัฒนา
อีกทั้งยังใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาวิธีการทำงานต่อไปด้วย เพื่อให้งานพัฒนาของพระองค์บรรลุผล
สูงสุดต่อเด็กและเยาวชน รวมทั้งประชาชนในถิ่นทุรกันดารให้ได้อย่างเท่าเทียมกันทุกคน
. ผลการพัฒนาที่ผ่านมา
ผลการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระยะที่ ๓ พ.. ๒๕๔๕-๒๕๔๙ ที่ผ่านมา ได้ส่งผลต่อเด็ก
และเยาวชนในถิ่นทุรกันดารที่สำคัญ ดังนี้
.๑ การเข้าถึงกลุ่มเด็กด้อยโอกาสและขาดโอกาสเพิ่มขึ้น
ในช่วงแผนฯ ระยะที่ ๓ นี้ เนื่องจากสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงมาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารีจึงได้ทรงขยายงานให้ครอบคลุมเด็กที่ยังขาดโอกาสในอีกหลายๆ พื้นที่ และใน
สถานะอื่นๆ ของเด็กด้วย เพื่อให้เด็กทุกคนได้มีโอกาสในการพัฒนาเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงความ
แตกต่างของเด็ก ทั้งในเรื่องเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ความพิการทางร่างกายหรือสมอง กำพร้า หรือ
สถานะอื่นๆ ของเด็ก
กลุ่มเด็กและเยาวชนที่ได้รับโอกาสในการพัฒนาเป็นเด็กที่อยู่ในสถานศึกษาในถิ่นทุรกันดารทั้ง
ในระบบและนอกระบบ ได้แก่ เด็กเล็ก เด็กนักเรียนประถมศึกษา และเด็กนักเรียนมัธยมศึกษา
ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (.. ตชด.) สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียน
ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (.. สพฐ.) ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและขาดแคลน
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ภาคเหนือ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาเอกชนในพื้นที่ภาคใต้ และอีกกลุ่มหนึ่งคือเด็กที่อยู่ในชุมชนนอกสถานศึกษา
ได้แก่เด็กที่อยู่ในครรภ์มารดา เด็กแรกเกิดไปจนถึงอายุ ๓ ปี เด็กเหล่านี้อยู่ในหมู่บ้านที่อยู่ในเขตบริการ
การศึกษาของสถานศึกษาดังกล่าว รวมทั้งเด็กที่ได้รับการดูแลในศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเด็กวัยเตาะแตะ
ด้วย
ในช่วงแผนฯ ระยะที่ ๓ นั้น มีจำนวนสถานศึกษาในสังกัดดังกล่าวข้างต้นเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเมื่อ
ต้นแผนฯ ในปี พ.. ๒๕๔๕ มีสถานศึกษาในโครงการตามพระราชดำริทั้งสิ้น ๕๕๙ แห่ง และเพิ่มขึ้นเป็น
๖๔๖ แห่งเมื่อสิ้นสุดแผนฯ ในปี พ.. ๒๕๔๙ (ตารางที่ ๑) ซึ่งครอบคลุมหมู่บ้านทั้งหมด ๑,๓๖๐ แห่ง
โดยในแต่ละปีมีการขยายพื้นที่ดำเนินการเข้าไปในหมู่บ้านที่ยังไม่มีบริการการศึกษา และจัดตั้งสถาน
ศึกษาเพื่อใช้เป็นฐานของการพัฒนาเด็กและเยาวชนต่อไป และในช่วงกลางแผนฯ ระยะที่ ๓ คือในปี
บทที่
สถานการณ์ปัจจุบัน
.. ๒๕๔๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการพัฒนาใน
โรงเรียนพระปริยัติธรรม ๑๒ แห่งในสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในจังหวัดน่าน ด้วยทรง
เห็นว่าโรงเรียนพระปริยัติธรรมนี้เป็นช่องทางสำคัญอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กที่ขาดโอกาสได้รับ
โอกาสในการศึกษาและพัฒนาเพิ่มขึ้น และเช่นเดียวกันตลอดช่วง ๕ ปีนี้จำนวนเด็กได้เพิ่มขึ้นจาก
ประมาณ ๗๐,๔๓๕ คนในปี พ.. ๒๕๔๕ เป็น ประมาณ ๑๐๖,๑๖๕ คน ในปี พ.. ๒๕๔๙ (ตารางที่ ๒)
ตารางที่ ๑ จำนวนสถานศึกษาที่เป็นพื้นที่ดำเนินงานในช่วงแผนฯ ระยะที่ ๓
หน่วย: แห่ง
พื้นที่เป้าหมาย                                                                                        ปีการศึกษา
                                                                                                  ๒๕๔๕    ๒๕๔๖       ๒๕๔๗      ๒๕๔๘      ๒๕๔๙
.. ตชด.                                                                                   ๑๘๕       ๑๘๖             ๑๙๐             ๑๙๑             ๑๙๒
.. สพฐ.                                                                                    ๑๑๖       ๑๓๐             ๑๔๑             ๑๔๗           ๑๔๘
ศศช.                                                                                           ๒๓๕        ๒๓๗           ๒๔๒          ๒๔๒            ๒๕๐
.. เอกชนสอนศาสนาอิสลาม                                                    ๖            ๗                    ๗                ๑๔             ๑๔
.. พระปริยัติธรรม                                                                       -              -                      ๑๑              ๑๑             ๑๒
ศูนย์ฯ เตาะแตะ                                                                           ๑๗          ๑ ๘                  ๒๑                 ๒๘             ๓๐
รวม                                                                                            ๕๕๙           ๕๗๘           ๖๑๒           ๖๓๓          ๖๔๖

ตารางที่ ๒ จำนวนเด็กและเยาวชนที่ได้รับโอกาสในการพัฒนาในช่วงแผนฯ ระยะที่ ๓
หน่วย: คน
เด็กและเยาวชนเป้าหมาย                                                                   ปีการศึกษา
                                                                    ๒๕๔๕            ๒๕๔๖         ๒๕๔๗            ๒๕๔๘       ๒๕๔๙
เด็กในครรภ์                                                ๔,๔๐๖          ๕,๓๒๘       ๕,๑๓๖          ๕,๗๕๒       ๖,๒๐๑
เด็กแรกเกิด - ๓ ปี                                      ๑๖,๗๒๒        ๑๙,๔๐       ๑ ๒๐,๗๒๑     ๒๒,๖๓๓    ๒๔,๖๓๕
เด็กเล็ก                                                      ๑๒,๘๓๓          ๑๖,๘๗๓    ๑๖,๔๙๙          ๑๖,๒๗๙        ๑๗,๐๓๖
เด็กนักเรียนประถมศึกษา                   ๓๓,๔๒๕               ๔๔,๖๙๑       ๔๒,๕๘๓     ๔๓,๐๔๙     ๔๔,๗๘๙
เด็กนักเรียนมัธยมศึกษา                         ๑,๘๗๕             ๓,๐๓๒              ๓,๓๒๙         ๕,๘๗๓        ๖,๖๓๐
สามเณรใน ร.. พระปริยัติธรรม - - ยังไม่ได้รับข้อมูล ,๗๒๒
เด็กนักเรียนใน ร.. เอกชนสอนศาสนาอิสลาม   ๑,๑๗๔     ๑,๕๙๘      ๒,๕๒๗   ๔,๔๐๘       ๕,๑๕๒
รวม                                                                 ๗๐,๔๓๕          ๙๐,๙๒๓      ๙๐,๗๙๕    ๙๗,๙๙๔     ๑๐๖,๑๖๕
นอกจากเด็กและเยาวชนกลุ่มดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีนักเรียนอีกส่วนหนึ่งที่ได้รับพระราชทาน
ทุนให้ศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นภายหลังจบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากสถานศึกษาในชุมชนแล้ว
ในช่วง ๕ ปีของแผนฯ ระยะที่ ๓ มีจำนวนนักเรียนในพระราชานุเคราะห์เพิ่มขึ้นจาก ๑,๒๘๑ คนในปี
.. ๒๕๔๕ เป็น ๑,๕๔๔ คนในปี พ.. ๒๕๔๙ โดยนักเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในสถาน
ศึกษาต่างๆ ในระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา (ตารางที่ ๓)

ตารางที่ ๓ จำนวนนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ในช่วงแผนฯ ระยะที่ ๓
หน่วย: คน
ระดับการศึกษา                                                                                         ปีการศึกษา
                                                             ๒๕๔๕           ๒๕๔๖              ๒๕๔๗       ๒๕๔ ๘      ๒๕๔๙
ประถมศึกษา                                       ๖                    ๗                        ๖                             ๔                 ๔
มัธยมศึกษาตอนต้น                       ๖๘๒                 ๖๗๘             ๖๗๑                  ๖๘๗               ๖๖๘
มัธยมศึกษาตอนปลาย                 ๑๙๗               ๒๓๕                   ๒๖๐                   ๓๐๓                 ๓๖๕
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ               ๑๘๘                  ๒๒๔                  ๑๘๗                 ๑๖๖                ๑๒๗
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง      ๕๗               ๖๕                          ๗๘                  ๗๙                    ๙๐
อุดมศึกษา                                      ๑๕๑               ๑๘๕                      ๒๔๒                ๒๕๔                  ๒๙๐
รวม                                                  ๑,๒๘๑          ๑,๓๙๔               ๑,๔๔๔               ๑,๔๙๓          ๑,๕๔๔

.๒ เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารมีภาวะโภชนาการดีขึ้น แต่ยังมีปัญหาในกลุ่มหญิง
ตั้งครรภ์ และการเจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อยังคงอยู่
จากความพยายามที่ผ่านมาในการให้ครูช่วยสนับสนุนงานบริการอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่
ที่บริการสาธารณสุขยังเข้าไปไม่ถึง พบว่าในแผนฯ ระยะที่ ๓ นั้นยังไม่สามารถลดอัตราเด็กแรกเกิดที่มี
น้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัมลงได้ โดยเมื่อต้นแผนฯ ในปี พ.. ๒๕๔๕ อัตราดังกล่าวคือร้อยละ ๑๑.
เมื่อสิ้นสุดแผนฯ เป็นร้อยละ ๑๐. (ตารางที่ ๔) เทียบกับเมื่อปี พ.. ๒๕๔๔ คือร้อยละ ๑๐.๑ และ
เป้าหมายของแผนฯ ระยะที่ ๓ คือ ไม่เกินร้อยละ ๗ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการขาดสารอาหารของแม่ใน
ระหว่างตั้งครรภ์ยังคงเป็นปัญหาอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้
สำหรับกลุ่มเด็กแรกเกิดถึง ๓ ปี พบว่ามีภาวะโภชนาการดีขึ้น โดยจำนวนเด็กที่มีน้ำหนักน้อย
กว่าเกณฑ์มีเพียงร้อยละ ๖.๘ เมื่อสิ้นสุดแผนฯ ระยะที่ ๓ ในปี พ.. ๒๕๔๙ (ตารางที่ ๔) การพัฒนาเด็ก
ในกลุ่มนี้ที่ผ่านมาได้มีความพยายามในการจัดตั้งและพัฒนาศักยภาพของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเด็กวัย
เตาะแตะในพื้นที่ภาคอีสาน ที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ภาคเหนือ ที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
และภาคกลาง ที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เพื่อรองรับเด็กที่มีอายุยังไม่ถึงเกณฑ์เข้าเรียน ให้ได้รับการ
ดูแลทั้งในด้านอาหารและโภชนาการ การดูแลสุขภาพ และการกระตุ้นพัฒนาการ เป็นการเตรียมความ
พร้อมของเด็กเล็กก่อนเข้าสู่ระบบการศึกษา ผลการดำเนินงานในรูปแบบดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่
อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร พบว่าได้ก่อให้เกิดความกระตือรือร้น และความร่วมมือกันระหว่างชุมชน
โรงเรียนที่อยู่ในชุมชน และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) โดยเฉพาะ อบต. ได้เข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบ
ในการดูแลดำเนินการและบริหารจัดการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเด็กวัยเตาะแตะอย่างเต็มตัวในเวลาต่อมา
ทำให้ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเด็กวัยเตาะแตะดำเนินงานมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ส่งผลให้ทั้ง
เด็กเล็กและผู้ดูแลเด็ก ตลอดจนผู้ปกครองเด็กได้รับการดูแลไปพร้อมๆ กัน
ส่วนกลุ่มเด็กในโรงเรียน พบว่าเด็กเล็กมีปัญหาการขาดสารอาหารรุนแรงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ (โดย
ดูจากอัตราการมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ตารางที่ ๔) อาจเป็นเพราะเป็นวัยที่ถูกทิ้งให้ช่วยตนเองโดยที่
เด็กยังไม่พร้อมที่จะดูแลตนเองได้ อย่างไรก็ตามการดำเนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ส่งผลให้
เด็กที่ขาดสารอาหารมีจำนวนลดน้อยลง โดยเมื่อเปรียบเทียบภาวะน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ระหว่างต้นปี
และปลายปี จะเห็นตัวเลขลดลงอย่างชัดเจน และจะพบปรากฏการณ์ที่เหมือนกันในทุกๆ ปี นั่นคือเมื่อ
เปิดภาคการศึกษาใหม่จำนวนเด็กที่ขาดสารอาหารจะเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าในช่วงที่ปิดภาคเรียน
เด็กไม่ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ ทั้งนี้อาจเนื่องจากครอบครัวของเด็กเหล่านั้นยังขาดความมั่นคงทาง
อาหาร ดังนั้นหากได้มีการขยายผลการผลิตอาหารจากโรงเรียนสู่ครัวเรือนมากขึ้น ก็จะเป็นทางหนึ่งที่จะ
ช่วยแก้ไขปัญหานี้ ที่ผ่านมาในแผนฯ ระยะที่ ๓ ได้มีการส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรในโรงเรียนทั้ง
พืชผัก ปศุสัตว์ และประมงเพิ่มขึ้น แต่ยังมีปัญหาการดำเนินงานในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร การเกิด
ภัยธรรมชาติ โรคไข้หวัดนก และภัยแล้ง ประกอบกับปัญหาการบันทึกข้อมูลผลผลิตทางการเกษตร
จึงพบว่าศักยภาพในการผลิตของโรงเรียนลดลง โดยในปีการศึกษา ๒๕๔๕ ผลผลิตทางการเกษตรแต่ละ
ประเภทคือ เนื้อสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง ผักและผลไม้ที่โรงเรียนสามารถผลิตได้เป็น ๓๔., ., ๕๖.๗ และ
๔๓.๐ กรัม/คน/มื้อ ตามลำดับ และในปีการศึกษา ๒๕๔๙ ผลิตลดลงเป็น ๓๒., ., ๔๕.๑ และ ๓๓.
กรัม/คน/มื้อ ตามลำดับ สำหรับปัญหาการขาดสารไอโอดีนที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและ
พัฒนาการของเด็กนั้น เมื่อใช้อัตราคอพอกในเด็กนักเรียนประถมศึกษาเป็นตัวชี้วัดพบว่า ในภาพรวม
มีอัตราดังกล่าวต่ำกว่าร้อยละ ๕ ตลอดแผนฯ ระยะที่ ๓ ซึ่งถือว่าไม่เป็นปัญหาสาธารณสุข
สำหรับภาวะป่วยจากโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในพื้นที่ ในช่วงแผนฯ ระยะที่ ๓ พบภาวะป่วยด้วย
โรคอุจจาระร่วงและโรคระบบทางเดินหายใจยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน
การติดเชื้อมาลาเรียในพื้นที่เสี่ยงลดลงเหลือร้อยละ ๖.๘ เมื่อสิ้นสุดแผนฯ ระยะที่ ๓ ส่วนโรคหนอนพยาธิ
ซึ่งทำการสำรวจเป็นครั้งแรกในปีการศึกษา ๒๕๔๗ พบเด็กนักเรียนที่เป็นโรคหนอนพยาธิจำนวนสูงถึง
ร้อยละ ๓๔.๓ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๒.๖ เมื่อสำรวจในปี พ.. ๒๕๔๙ ซึ่งยังถือว่าสูงอยู่ โดยเฉพาะใน
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขามีเด็กนักเรียนที่เป็นโรคหนอนพยาธิสูงถึงร้อยละ ๔๔.๙ ในปีการศึกษา
๒๕๔๙
ตารางที่ ๔ การขาดสารอาหารของเด็กและเยาวชนในช่วงแผนฯ ระยะที่ ๓ จำแนกตามวัย
หน่วย: ร้อยละ
ตัวชี้วัด ปีการศึกษา
๒๕๔๕ ๒๕๔๙
เด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ๑๑.๖ ๑๐.
เด็กแรกเกิดถึง ๓ ปีที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ๖.๓ ๖.
เด็กเล็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ๙.๙ ๙.
เด็กนักเรียนประถมศึกษาที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ๗.๓ ๕.
.๓ เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะทางวิชาการและ
การอาชีพอย่างต่อเนื่อง แต่คุณภาพของการศึกษายังคงเป็นปัญหา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จากการทดสอบการศึกษาระดับชาติ
(National Test หรือ NT) พบว่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยในวิชาหลัก ๔ วิชา ได้แก่ ภาษาไทย
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ต่ำกว่าร้อยละ ๕๐ ตลอดทุกปี โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ
จะเห็นได้ชัดว่า มีคะแนนลดลงตลอดช่วง ๓ ปีระหว่างปีการศึกษา ๒๕๔๖ ถึง ๒๕๔๘ (ตารางที่ ๕)
จึงเห็นได้ว่าเรื่องของคุณภาพการศึกษายังคงเป็นปัญหาอยู่และควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพื่อ
ให้เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารมีความรู้เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการดำรงชีวิต หรือสามารถแข่งขันกับ
ผู้อื่นเมื่อต้องศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นได้
ตารางที่ ๕ คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
หน่วย: ร้อยละ
วิชา                                                                              ปีการศึกษา
                                                                        ๒๕๔๖                      ๒๕๔๗                     ๒๕๔๘
ภาษาไทย                                                      ๔๓.๐๕                        ๔๔.๓๕                          ๔๔.๖๑
คณิตศาสตร์                                                 ๓๙.๙๑                           ๔๒.๗๐                     ๔๑.๘๔
วิทยาศาสตร์                                                ๔๑.๑๒                         ๔๑.๘๑                         ๔๑.๐๕
ภาษาอังกฤษ                                               ๔๒.๒๗                       ๔๐.๓๒                         ๓๗.๐๖
สำหรับการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดแผนฯ ระยะที่ ๓ ได้สนับสนุนการเปิด
สถานศึกษาใหม่ ทั้งในรูปของศูนย์การเรียน ห้องเรียนสาขา รวมทั้งหมด ๕๑ แห่ง ทำให้เด็กและเยาวชน
จำนวน ๒,๗๔๒ คนได้เข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาด้านอื่นๆ ด้วย และประชาชนใน
หมู่บ้านได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการก่อสร้าง ปรับปรุงซ่อมแซม
อาคารสถานที่ ให้เพียงพอและปลอดภัยสำหรับการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นอีกจำนวน
๑๔๗ แห่ง
ในส่วนของการพัฒนาทักษะทางด้านอาชีพของเด็กและเยาวชนนั้น ในแผนฯ ระยะที่ ๓
ได้กำหนดตัวชี้วัดไว้ แต่ก็ยังไม่สามารถประเมินผลได้ โดยเฉพาะอาชีพทางการเกษตรที่มีการดำเนิน
กิจกรรมการเกษตรในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว แต่ยังไม่มีการประเมินผลว่าเด็กได้รับความรู้และ
มีทักษะทางการเกษตรมากน้อยเพียงไร และเมื่อจบไปแล้วสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการดำรงชีวิต
ได้หรือไม่ ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากจุดมุ่งหมายของกิจกรรมการเกษตรของโรงเรียนหลายแห่งมุ่งไปที่
การผลิต ยังไม่ได้เน้นไปที่การเรียนรู้ของเด็ก นอกจากนี้ อาชีพอื่นๆ ทั้งอาชีพที่เป็นพื้นฐานสำหรับการ
ดำรงชีวิต และอาชีพที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็นการจัดการฝึกอบรมระยะสั้นให้แก่เด็กและ
เยาวชน ทำให้การพัฒนาขาดความต่อเนื่อง จึงควรที่จะจัดในรูปแบบของกระบวนการเรียนการสอนมากกว่า
สำหรับการปลูกฝังหลักการสหกรณ์และการสร้างลักษณะนิสัยตามอุดมการณ์สหกรณ์นั้น มีการ
ดำเนินกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในทุกโรงเรียน โดยพยายามผลักดันให้เด็กทุกคนได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก
สหกรณ์นักเรียน และมีโอกาสหมุนเวียนกันฝึกการทำงานโดยเป็นกรรมการสหกรณ์ อย่างไรก็ตามในทาง
ปฏิบัติการฝึกหัดดังกล่าวยังไม่กระจายตัว เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนกรรมการสหกรณ์ และ
การฝึกทำบัญชีต้องใช้เวลาในการเรียนรู้พอสมควร โรงเรียนจึงมักจะเลือกเด็กที่มีความสามารถมาฝึก
ปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่
.๔ การดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
ท้องถิ่นยังต้องการการพัฒนาเพื่อสร้างจิตสำนึกของเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
ในช่วงแผนฯ ระยะที่ ๓ โรงเรียนหลายแห่งมีการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์การอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมป่าชุมชน กิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเพื่ออนุรักษ์
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืช ในส่วนของการอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่นก็เช่นกัน ได้มีการ
จัดกิจกรรมเผยแพร่ในโอกาสต่างๆ ในหลายโรงเรียน อย่างไรก็ตามรูปแบบของกิจกรรมที่นำไปสู่การ
ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ การเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต และการสร้างความตระหนักให้เห็นคุณค่า และ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมของชุมชน รวมทั้งวัฒนธรรมที่ดีงามของชุมชนนั้นยังมีอยู่น้อย อีกทั้งการจดบันทึก
การรวบรวมข้อมูล และการจัดทำเป็นเอกสารไว้เป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นระบบนั้น
ก็ยังมีไม่มากนัก จึงยังต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
.๕ เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารส่วนหนึ่งได้รับโอกาสในการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๔๒ ได้กำหนดไว้ว่าจะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่
น้อยกว่า ๑๒ ปี และการศึกษาภาคบังคับจำนวน ๙ ปีให้แก่เด็กอายุย่างเข้าปีที่ ๗ ได้เข้าเรียนในสถาน
ศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้า ๑๖ ปี แต่ปรากฏว่าสถานศึกษาในพื้นที่ทุรกันดารส่วนใหญ่สามารถ
จัดการศึกษาได้เพียงระดับประถมศึกษา ๖ ปีเท่านั้น หากเด็กจะศึกษาต่อจะต้องเดินทางไปเรียนในท้องที่
อื่นหรือในตัวอำเภอ ซึ่งหลายแห่งเด็กไม่สามารถเดินทางไปกลับได้ภายในวันเดียว ต้องหาที่พักภายใน
สถานศึกษา หรือใกล้ๆ กับสถานศึกษา ทำให้ครอบครัวต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ในช่วงแผนฯ ระยะที่ ๓
จึงได้มีความพยายามในการพัฒนาโรงเรียนหลายแห่งที่พอจะมีศักยภาพให้เป็นศูนย์กลางในการรับเด็ก
จากชุมชนใกล้ๆ เข้าศึกษาต่อ โดยการสร้างหอพักสำหรับเด็ก การสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม พร้อมทั้ง
จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา และจัดหาครูเพิ่มขึ้น เพื่อให้เด็ก
มีโอกาสได้ศึกษาในระดับสูงขึ้น
อีกทางหนึ่งที่สามารถช่วยให้เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารได้ศึกษาต่อคือ ทุนการศึกษา
พระราชทานเพื่อศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นตามศักยภาพของแต่ละคน ในช่วง ๕ ปีของแผนฯ ระยะที่ ๓
มีทุนพระราชทานจำนวน ๑,๒๘๑ ทุนในปี พ.. ๒๕๔๕ และเพิ่มเป็น ๑,๕๔๔ ทุนในปี พ.. ๒๕๔๙
โดยในจำนวนนี้เป็นนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ
ทั่วทั้ง ๔ ภาคของประเทศในทุกสังกัด ที่ได้รับการพิจารณาให้รับทุนพระราชทานเพื่อศึกษาต่อในระดับ
มัธยมศึกษาจำนวนเฉลี่ย ๒๓๙ คนต่อปี ส่วนที่เหลือเป็นคนที่ได้รับทุนต่อเนื่อง (ตารางที่ ๖)
ตารางที่ ๖ จำนวนทุนพระราชทานสำหรับเด็กและเยาวชนในช่วงแผนฯ ระยะที่ ๓
หน่วย: ทุน
ประเภททุน                                                                                ปีการศึกษา
                                                                           ๒๕๔๕          ๒๕๔๖       ๒๕๔๗           ๒๕๔๘       ๒๕๔๙
ทุนใหม่                                                               ๒๓๐             ๒๖๒         ๒๓๗            ๒๓๘              ๒๒๘
ทุนต่อเนื่อง                                                    ๑,๐๕๑                ๑,๑๓๒         ๑,๒๐๗        ๑,๒๕๕         ๑,๓๑๖
รวม                                                              ๑,๒๘๑              ๑,๓๙๔           ๑,๔๔๔         ๑,๔๙๓         ๑,๕๔๔

.๖ ประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารจัดการโครงการต้องการการแก้ไขและพัฒนา
() การโยกย้ายหมุนเวียนตามวงรอบของเจ้าหน้าที่ในทุกระดับ ทั้งในส่วนของสถานศึกษาและ
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ส่งผลให้การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง ผู้ที่มารับหน้าที่ใหม่ยังขาดความเข้าใจใน
ทิศทางการทำงาน นอกจากนี้ยังพบกับภาวะวิกฤตของการขาดแคลนบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน และการขาด
ขวัญและกำลังใจ
() ตลอดช่วงแผนฯ ระยะที่ ๓ ได้มีหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนเพิ่มจำนวนขึ้น บางครั้งเกิด
ความซ้ำซ้อนของงาน สิ้นเปลืองงบประมาณ และในบางครั้งเกิดความสับสนในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้
การสนับสนุนบางอย่างอาจไม่ตรงกับความต้องการของสถานศึกษา ไม่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน
หรือในบางครั้งการสนับสนุนไม่เหมาะสมกับเวลา ทั้งหมดนี้เกิดจากการขาดการประสานงานที่มี
ประสิทธิภาพ
() ในช่วงแผนฯ ระยะที่ ๓ ได้กำหนดตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการติดตามและประเมินผลโครงการ
บางตัวยังไม่สามารถพัฒนาเครื่องวัดได้ และมีตัวชี้วัดหลายตัวที่ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ จึงทำให้
ไม่สามารถประเมินผลได้ครบถ้วนและชัดเจน
() ระบบข้อมูลโครงการไม่ได้รับการพัฒนาและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทั้งผู้บริหาร
และผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบดังกล่าว นอกจากนี้สถานศึกษาเองก็มีภาระเพิ่มขึ้นจากงาน
ประกันคุณภาพการศึกษา ทำให้ความสนใจในเรื่องระบบข้อมูลโครงการลดลง ส่งผลต่อการประมวลผล
ในภาพรวมของโครงการ เพราะข้อมูลขาดความถูกต้อง ครบถ้วน และไม่เป็นปัจจุบัน ทำให้ไม่ทราบ
สถานการณ์ที่ถูกต้อง ขาดข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หากจะใช้ในการบริหารโครงการ และใช้ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อการ
ตัดสินใจในการดำเนินงานใดๆ
() การพัฒนาครูที่ผ่านมา ไม่สามารถเติมเต็มได้ ในแต่ละปีแม้จะมีความพยายามในหลาย
รูปแบบ เช่น ทุนพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเพื่อให้ครูได้ศึกษา
ต่อในสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเพิ่มคุณวุฒิทางการศึกษา หรือการจัดการศึกษาด้วยระบบ Teleconference
พระราชทาน ซึ่งครูสามารถศึกษาในพื้นที่ในขณะที่ยังสามารถปฏิบัติงานไปพร้อมๆ กันได้โดยไม่ต้อง
เดินทางมาศึกษาที่สถาบันอุดมศึกษาในเมืองใหญ่ แต่เมื่อศึกษาจบและทำงานไปได้สักระยะหนึ่ง ครูส่วน
หนึ่งได้ลาออกหรือย้ายออกนอกสังกัด เนื่องจากขาดความก้าวหน้าและขาดแรงจูงใจ
() การมีส่วนร่วมโดยเฉพาะจากภาคชุมชนในระยะหลังๆ มีแนวโน้มออกมาในรูปของ
ผลประโยชน์ส่วนบุคคลมากขึ้น เช่น เป็นค่าตอบแทน เป็นต้น จึงทำให้ช่องว่างระหว่างสถานศึกษาและ
ชุมชนกว้างขึ้น ความรับผิดชอบของชุมชนต่อสถานศึกษาลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน
และที่สำคัญต่อตัวชุมชนเองในระยะยาว
. กระแสโลกาภิวัตน์และการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารในอนาคต
ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและมีความซับซ้อนมากขึ้น ประกอบกับการ
พัฒนาของประเทศที่ผ่านมาที่มุ่งสู่สังคมอุตสาหกรรม จนเกิดเป็นการพัฒนาที่ขาดความสมดุลและไม่
ยั่งยืนส่งผลทำให้มีความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ การกระจายความเจริญ สังคมชนบทเปลี่ยน
เป็นสังคมเมืองอย่างรวดเร็วและอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาทางวัตถุไม่สมดุลกับการพัฒนาคน ปัญหา
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและขาดแคลน ความเสื่อมถอยของวัฒนธรรม ส่งผลต่อ
คุณภาพชีวิตและวิถีการดำรงชีวิตของประชาชนทั้งประเทศ แม้กลุ่มชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารก็ย่อมจะได้
รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ด้วย ผลที่เกิดขึ้นหลายอย่างได้กลายเป็นประเด็นปัญหาวิกฤต
ของประเทศที่ควรนำมาพิจารณาในการกำหนดแนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารใน
อนาคต ดังนี้
.๑ เด็กและเยาวชนตกอยู่ในภาวะที่ขาดแคลน ยากลำบาก และขาดโอกาส จะมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เป็นผลจากการพัฒนาที่ทำให้เศรษฐกิจและรายได้ของคนในเมืองและคนในชนบทห่างไกลเกิด
ช่องว่างห่างกันมากขึ้น นอกจากนี้ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดภัย
พิบัติต่างๆ ที่รุนแรงมากขึ้น ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติเหล่านี้ขยายวงกว้างมากขึ้น
.๒ การเปลี่ยนแปลงของปัญหาโภชนาการของประเทศอยู่ในระยะที่เรียกว่าเป็นโภชนาการใน
ช่วงปรับเปลี่ยน ที่มีทั้งการขาดสารอาหารและโภชนาการเกินร่วมกัน ดังเช่นประเทศอื่นทั่วโลกกำลัง
ประสบอยู่ ภาวะการขาดสารอาหาร อันเนื่องมาจากความยากจน ความไม่มั่นคงทางอาหาร และความ
ไม่รู้ ยังมีปรากฏอยู่และอาจมีความรุนแรงมากขึ้นในบางพื้นที่ ในขณะที่ภาวะโภชนาการเกินและอ้วน
กำลังเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในสังคม ปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็คือ
การพัฒนาเศรษฐกิจที่รุดหน้าอย่างเร็ว การขยายของตัวเมือง เทคโนโลยีต่างๆ มีความก้าวหน้ารวดเร็ว
มาก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีการดำรงชีวิตของประชาชน การบริโภคอาหารเปลี่ยนแปลงไป
ร่วมกับภาวะแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดโรคอ้วนที่พบได้ทั่วไป
.๓ โรคติดต่อที่อุบัติขึ้นใหม่และโรคระบาดซ้ำที่เป็นผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ เช่น
ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลกระทบที่รุนแรงและบั่นทอนคุณภาพชีวิตของประชาชน
หากปราศจากแนวทางป้องกันและการแก้ไขปัญหาที่ครบวงจร
.๔ การก้าวเข้าสู่ยุคสังคมข่าวสารข้อมูล หรือที่เรียกว่าสังคมแห่งการเรียนรู้ทำให้
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น แม้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะได้รับการพัฒนา
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารความรู้ต่างๆ และการสื่อสารเป็นไปได้อย่าง
กว้างขวางและรวดเร็ว แต่ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นมีทั้งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น
สิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการพัฒนาเทคโนโลยีคือ การพัฒนาคนให้มีภูมิคุ้มกัน มีศักยภาพในการเลือก
รับ วิเคราะห์ ตัดสินใจในข้อมูลเหล่านั้น
.๕ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่องและเข้าสู่ภาวะ
ขาดแคลน ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ระบบนิเวศที่เสียสมดุล การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
และอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นจากภาวะเรือนกระจก เกิดภาวะโลกร้อน ปัญหาเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อการ
ดำรงชีวิต จำเป็นต้องร่วมกันทุกคนในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนปกป้องและรักษาทรัพยากรของประเทศ
ไว้ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
.๖ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและเสื่อมถอย
เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ไม่เห็นคุณค่า ละเลยวิถีชีวิตที่ดีงามของสังคมไทย ถูกครอบงำโดยวัฒนธรรม
ต่างชาติที่มาพร้อมกับโลกาภิวัตน์ จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
. เป้าหมายสูงสุด
ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี ได้กำหนดเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาไว้ดังนี้
เด็กและเยาวชน มีโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ใฝ่เรียนรู้ ซื่อสัตย์ ประหยัด และอดทน มีความรู้
และทักษะทางวิชาการและการอาชีพเพื่อเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต รักและหวงแหนทรัพยากร
ธรรมชาติ ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและ
ประเทศชาติได้
. วัตถุประสงค์
เพื่อให้เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารได้รับโอกาสในการพัฒนา และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ตามเป้าหมายสูงสุด อันจะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาเด็กและ
เยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ ๔
.. ๒๕๕๐๒๕๕๙ ไว้ดังนี้
วัตถุประสงค์ที่ ๑ ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนเริ่มตั้งแต่ใน
ครรภ์มารดา
วัตถุประสงค์ที่ ๒ ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน
วัตถุประสงค์ที่ ๓ เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ
วัตถุประสงค์ที่ ๔ เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ
วัตถุประสงค์ที่ ๕ ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์ที่ ๖ เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอด
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

. กลุ่มประชากรและพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนา
.๑ กลุ่มประชากรเป้าหมาย ได้แก่
() เด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดา จนถึงเยาวชนในวัยศึกษาเล่าเรียน ทั้งที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร
ห่างไกลการคมนาคม หรืออยู่ในที่ที่มีสภาวะยากลำบากขาดแคลน หรือในที่ประสบ
ปัญหาภัยพิบัติต่างๆ หรือที่อยู่ในสภาวะที่ทำให้ได้รับโอกาสไม่เท่ากับเด็กปกติโดย
ทั่วไป
() เด็กและเยาวชนอื่นๆ ตามพระราชประสงค์
.๒ พื้นที่เป้าหมาย ประกอบไปด้วย
() โรงเรียนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
() โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
() ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวงในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการ
ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
() โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม๔ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
เอกชน
() โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนา
แห่งชาติ
() หมู่บ้านในเขตบริการการศึกษาของสถานศึกษาข้างต้น
() พื้นที่อื่นๆ ตามพระราชประสงค์

. เป้าหมายและกรอบการดำเนินงาน
แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ ๔ นี้ได้กำหนดเป้าหมายและกรอบการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ทั้ง ๖ ข้อ
ไว้ดังต่อไปนี้
หมายถึง สถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน และสถาบันศึกษาปอเนาะ





วัตถุประสงค์ที่ ๑ ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็ก
และเยาวชนเริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงตระหนักถึงความสำคัญของการดูแล
ภาวะโภชนาการของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์และเด็กแรกเกิดซึ่งเป็นช่วงวิกฤตที่สุดในวงจรชีวิต การขาดสาร
อาหารของแม่ที่ตั้งครรภ์จะส่งผลทำให้เด็กในครรภ์และเด็กแรกเกิดมีภาวะโภชนาการบกพร่อง ดังจะเห็น
ได้จาก น้ำหนักแรกคลอดของเด็กจะต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการชะงักงัน
รวมทั้งความสามารถในการเรียนรู้ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเสียชีวิตสูง เป็นเด็กแคระแกร็น น้ำหนัก
ตัวน้อย เมื่อเติบโตเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ก็จะเป็นหนุ่มสาวที่ขาดอาหาร เป็นแม่ตั้งครรภ์ที่น้ำหนักตัวน้อย
ส่งผลให้เด็กในครรภ์ขาดอาหารต่อไป และในปัจจุบันจากรายงานเชิงระบาดวิทยาพบว่า การมีน้ำหนัก
แรกคลอดต่ำ (low birth weight) ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคอ้วนและโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง
ที่กลายเป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ในการดูแลเด็กที่ขาด
สารอาหารโดยมุ่งเน้นที่เฉพาะการเพิ่มน้ำหนักเพื่อให้ได้เกณฑ์น้ำหนักตัว โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการ
เพิ่มส่วนสูง อาจทำให้พบเด็กที่มีการขาดสารอาหารอย่างเรื้อรัง ที่เตี้ยแล้วอาจกลายเป็นโรคอ้วนด้วย
กรณีดังกล่าวยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ดังนั้นเพื่อไม่ให้
เป็นการแก้ไขปัญหาด้านหนึ่งแต่ก่อให้เกิดปัญหาอีกด้านหนึ่ง การมองปัญหาโภชนาการของเด็กและ
เยาวชนในถิ่นทุรกันดารในอนาคตจึงควรมองทั้งสองด้าน คือทั้งด้านขาดและเกิน อันจะทำให้สามารถ
แก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
นอกจากปัญหาโภชนาการแล้ว ในบางพื้นที่ตามแนวชายแดนที่เป็นพื้นที่เสี่ยง เด็กและเยาวชน
รวมทั้งประชาชน ต้องประสบกับการเจ็บป่วยจนถึงขั้นเสียชีวิตด้วยโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคมาลาเรีย
เป็นต้น พื้นที่เหล่านี้หลายแห่งบริการของรัฐยังเข้าไม่ถึง ดังนั้นแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหา
จึงพยายามให้บุคลากรครูที่อยู่ประจำในพื้นที่ ทำหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยเบื้องต้น เป็นการเสริมการ
ทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงและป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้
เป้าหมาย
. เด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดาทุกคนได้รับบริการเบื้องต้นจนเกิดรอดปลอดภัย
. เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการส่งเสริมด้านโภชนาการและมีพัฒนาการตามวัย
. เด็กทุกคนได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและถูกสุขลักษณะ และได้ดื่มนม
อย่างน้อยวันละ ๑ แก้ว ทุกวันเรียน
. เด็กทุกคนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของเด็กไทย และมีสมรรถภาพทาง
กายตามเกณฑ์
. ลดอัตราคอพอกในนักเรียนประถมศึกษาลงจนไม่เป็นปัญหาสาธารณสุข
. ลดอัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียและโรคหนอนพยาธิในนักเรียนลงจนไม่เป็นปัญหาสาธารณสุข
. เด็กและเยาวชนทุกคนมีพฤติกรรมในการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสม
. เด็กและเยาวชนทุกคนมีสุขนิสัยที่พึงประสงค์
. นักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เป็นต้นไปได้รับการเตรียมความพร้อมในการ
เป็นพ่อและแม่ที่ดี
กรอบการดำเนินงาน
. ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการเบื้องต้นในการดูแลเด็กตั้งแต่ในครรภ์
มารดา และจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเด็กวัยเตาะแตะควบคู่กับการบริการการศึกษาใน
โรงเรียน เพื่อเตรียมความพร้อมของเด็กก่อนเข้าโรงเรียน
. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนพัฒนาศักยภาพของตนเองในการดูแลเด็กตั้งแต่ในครรภ์
มารดา และการพัฒนาสภาวะแวดล้อมภายในชุมชนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
. พัฒนาวิธีการจัดกิจกรรมของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเด็กวัยเตาะแตะและชั้นอนุบาล เพื่อ
ให้เด็กปฐมวัยสามารถเจริญเติบโตและมีพัฒนาการได้เต็มศักยภาพ
. จัดบริการอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสะอาดถูกสุขลักษณะ และอาหาร
เสริมนม เพื่อให้เด็กได้พัฒนาแบบแผนการบริโภคอาหารที่พึงประสงค์ตามหลักโภชนาการ
และสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
. ส่งเสริมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนในการปรุงอาหาร
. พัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
. ส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
. พัฒนาระบบเฝ้าระวังทางโภชนาการให้มีประสิทธิภาพ
. จัดบริการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรียและโรคหนอนพยาธิและให้การรักษาเบื้องต้น และ
จัดกระบวนการเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ
โดยการร่วมมือของชุมชน
๑๐. จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการมีสุขภาพดี
ในเรื่องสุขบัญญัติ โภชนบัญญัติ สุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อม การออกกำลังกายและ
การกีฬาที่เหมาะสม สุขภาวะทางจิต โรคโภชนาการ เช่น โรคขาดโปรตีนและพลังงาน
โรคขาดสารไอโอดีน โรคขาดวิตามินเอ โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โรคอ้วน และ
โรคติดต่อที่สำคัญในท้องถิ่น เช่น โรคมาลาเรีย โรคหนอนพยาธิ เป็นต้น
๑๑. พัฒนาการจัดการเรียนการสอน เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพแม่และเด็กให้เหมาะสมกับ
บริบทของชุมชน และเหมาะสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔๖ และนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความตระหนักในเรื่องการมี
ครอบครัวที่เป็นสุขและการสร้างสังคมที่ดี
วัตถุประสงค์ที่ ๒ ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา
ให้แก่เด็กและเยาวชน
นอกจากการเตรียมเด็กและเยาวชนในด้านโภชนาการและสุขภาพแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราช-
สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเห็นว่า เด็กและเยาวชนทุกคนควรได้รับการศึกษา เพราะนอกจากจะเป็น
สิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรจะได้รับอย่างเท่าเทียมกันแล้ว การศึกษายังเป็นกระบวนการที่ทำให้เด็กและ
เยาวชนมีความรู้ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง เป็นคนมีคุณภาพของครอบครัวและสังคม
ส่วนรวม แม้หน่วยงานทางการศึกษาได้พยายามจัดบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ก็ยังไม่สามารถ
ดำเนินการได้อย่างทั่วถึงและสนองต่อวิถีชีวิตและความต้องการของเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส
ซึ่งครอบคลุมกลุ่มที่ยากจน กลุ่มที่อยู่ห่างไกลไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ กลุ่มที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย
กลุ่มพิการหรือมีความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ นอกจากนี้กลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีความ
สามารถพิเศษ ก็ยังขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอน ทำให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้
ไม่ได้โอกาสในการพัฒนาเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตนเอง ดังนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารีจึงพระราชทานความช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ให้
ครอบคลุมเด็กและเยาวชนกลุ่มต่างๆ เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคนมีโอกาสและความเสมอภาคที่จะ
พัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ เติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติได้
สำหรับเด็กและเยาวชนส่วนหนึ่งเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับแต่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูง
อาจเนื่องมาจากครอบครัวมีฐานะยากจน และในชุมชนไม่มีโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับสูง ก็ยังได้รับ
โอกาสทางการศึกษาเพิ่มขึ้น โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานทุน
การศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนเหล่านั้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ได้มีโอกาสศึกษาต่อ
ในระดับสูงขึ้นจนสุดศักยภาพของแต่ละคน และสามารถพัฒนาตนเองเป็นคนมีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น
ของประเทศชาติต่อไป
เป้าหมาย
. เด็กและเยาวชนด้อยโอกาสมีโอกาสเข้าถึงและได้รับบริการทางการศึกษาในรูปแบบที่
เหมาะสมเพิ่มขึ้น
. อัตราการเรียนต่อของนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ในแต่ละระดับการศึกษาเพิ่มขึ้น
กรอบการดำเนินงาน
. สนับสนุนการจัดตั้งสถานศึกษาหลากหลายรูปแบบให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และชุมชน
พัฒนาปรับปรุงอาคารให้มีจำนวนเพียงพอกับจำนวนเด็กและมีความปลอดภัย พร้อมทั้ง
สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งบุคลากรเพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้
. ส่งเสริมการพัฒนาโรงเรียนเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมแนะแนวและส่งเสริมการเรียนต่อ
. ส่งเสริมการจัดการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสมแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย
สติปัญญาและอารมณ์
. พัฒนางานนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
.๑ พัฒนาระบบคัดเลือกให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว
.๒ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและสร้างภาวะผู้นำของ
นักเรียนในพระราชานุเคราะห์
.๓ พัฒนาศักยภาพของเครือข่ายในการดูแลเป็นพี่เลี้ยง และให้คำปรึกษาแก่นักเรียนใน
พระราชานุเคราะห์ในพื้นที่ต่างๆ
วัตถุประสงค์ที่ ๓ เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้
ทางวิชาการ
ความรู้ความสามารถทางวิชาการเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็กและเยาวชนทุกคน ทั้งภาษา
ไทย ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ ตลอดจนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จำเป็น
ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้การก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้การติดต่อสื่อสาร การแสวงหาข้อมูล
ข่าวสาร และการเรียนรู้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงทำให้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นวิชาที่จำเป็น
เพิ่มขึ้นมา ความรู้ในวิชาการเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างสติปัญญา ทำให้เด็กและเยาวชน
สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ดำรงชีวิตด้วยตนเอง เป็นที่พึ่งของชุมชนและสังคมต่อไปได้
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าเด็กและเยาวชนยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็ม
ศักยภาพ ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยหลายๆ ด้าน ทั้งจำนวนครูที่ไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน โดยเฉพาะ
ในท้องถิ่นห่างไกล ข้อจำกัดในเรื่องความรู้ความสามารถของครู วิธีการเรียนการสอน อุปกรณ์และสื่อ
การเรียนการสอน ในหลายๆ พื้นที่การสนับสนุนจากพ่อแม่ ผู้ปกครองก็ไม่สามารถทำได้เต็มที่ เนื่องจาก
พ่อแม่ ผู้ปกครองเองยังมีการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมากนัก เหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงตระหนักถึงปัจจัยดังกล่าว และมี
พระราชประสงค์ที่จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกัน
และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้ด้วยการใช้ สุ จิ ปุ ลิ ซึ่งเป็นหลักการดั้งเดิมที่สามารถปรับใช้ได้
อย่างสอดคล้องกับทุกยุคสมัย
เป้า หมาย
. เด็กและเยาวชนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
และภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น
กรอบการดำเนินงาน
. เพิ่มพูนทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการให้แก่ครูผู้สอน
ในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
. ส่งเสริมการใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย และเหมาะสมกับสภาพปัญหา
. พัฒนาห้องสมุดให้ได้มาตรฐานสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยของเด็กและชุมชน และ
จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะของเด็กนักเรียนในด้านการอ่าน การค้นคว้า
. พัฒนาห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ให้ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับเนื้อหาในหลักสูตร
เพื่อพัฒนาทักษะของเด็กและเยาวชนในกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
. ส่งเสริมการใช้สารานุกรมสำหรับเยาวชนตามพระราชประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ของเด็ก
. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามความพร้อมของแต่ละสถานศึกษา
. จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะของเด็กนักเรียน ในการศึกษาค้นคว้าจากแหล่ง
เรียนรู้นอกโรงเรียน เช่น วัด มัสยิด พิพิธภัณฑ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
วัตถุประสงค์ที่ ๔ เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ
พื้นฐานดั้งเดิมของสังคมไทยคือเกษตรกรรม และถือว่าเป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ที่
อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท พื้นที่ทุรกันดารห่างไกล การเกษตรจึงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่ดีงาม แต่การ
พัฒนาที่ผ่านมาส่งผลทำให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่มีทักษะและความชำนาญทางการเกษตรลดลง
มีทัศนคติว่าเป็นงานหนักเหน็ดเหนื่อย รายได้ไม่คุ้มการลงทุน ทำให้ขาดความสนใจในงานการเกษตร
นอกจากนี้การทำเกษตรที่ผ่านมา ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงจนถึงขาดแคลน ระบบนิเวศเสียสมดุล แหล่งอาหารทางธรรมชาติลดลง หรือ
แม้กระทั่งมีสารเคมีตกค้างและปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหารจนเป็นอันตรายถึงชีวิต วิถีการดำรงชีวิตพร้อมกับ
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่ดีงามของท้องถิ่นถูกทำลายจนเกือบหมดไป สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นถึงความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนทั้ง
ด้านความรู้ และทักษะทางการเกษตร ตลอดจนการปลูกฝังทัศนคติที่ดี มีความอดทน เห็นคุณค่าของ
การทำงานเกษตร ความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้ในการผลิตอาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือน ซึ่งเป็น
การช่วยลดรายจ่ายของครัวเรือนได้
นอกเหนือจากอาชีพการเกษตรแล้ว สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารียังทรง
เห็นว่าการงานพื้นฐานอาชีพอื่นๆ เช่น การประกอบอาหาร การแปรรูปถนอมอาหาร การเพาะขยายพันธุ์
ไม้ พันธุ์สัตว์ ศิลปหัตถกรรม การตัดเย็บเสื้อผ้า งานก่อสร้าง ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า งานซ่อมแซมเครื่องใช้
อุปกรณ์ต่างๆ ภายในครัวเรือน ก็เป็นพื้นฐานที่จะเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันของเด็กและ
เยาวชนด้วย และเป็นฐานสำหรับการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนทักษะต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังทรงเน้นถึง
การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ รวมทั้งช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และรู้จัก
เสียสละเพื่อส่วนรวม โดยใช้หลักการสหกรณ์ พร้อมทั้งการฝึกการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบและ
แบบแผน การจดบันทึก การจัดทำบัญชีเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้
เป้าหมาย
. เด็กและเยาวชนทุกคนมีความรู้และทักษะพื้นฐานทางการเกษตรยั่งยืนในการผลิตอาหาร
เพื่อการบริโภค และทางด้านอาชีพที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
. เด็กและเยาวชนทุกคนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักการและอุดมการณ์สหกรณ์
กรอบการดำเนินงาน
. จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และเจตคติในการทำเกษตรยั่งยืนของ
เด็กและเยาวชน ผลผลิตที่ได้สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน
ของโรงเรียน และส่งเสริมการขยายผลสู่ครัวเรือนในพื้นที่ที่มีความพร้อม
. จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะในการจัดการการผลิต และการจัดการผลผลิตอย่าง
มีประสิทธิภาพ
. จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และเจตคติในงานอาชีพที่จำเป็น
สำหรับชีวิตประจำวัน
. จัดกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมที่เน้นการปลูกฝังลักษณะนิสัยการช่วยตนเองและ
ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามอุดมการณ์สหกรณ์
. จัดกิจกรรมสหกรณ์ ได้แก่ กิจกรรมร้านค้า กิจกรรมออมทรัพย์ เพื่อพัฒนาความรู้และ
ทักษะเบื้องต้นของเด็กทางด้านสหกรณ์
วัตถุประสงค์ที่ ๕ ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชน
ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สถานการณ์ความขาดแคลนและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมี
แนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชน ดังจะเห็นได้จาก พื้นที่
ป่าลดลง การขาดแคลนน้ำในระดับรุนแรง แต่ยังมีน้ำหลากท่วมเป็นประจำ คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม
ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ถูกชะล้างพังทลาย ระบบนิเวศเสียสมดุล และความหลากหลายทางชีวภาพ
ลดลง เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องร่วมมือกันแก้ไข
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยและทรงเห็นถึงความจำเป็น
อย่างยิ่งที่จะต้องเร่งฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คืนสู่สมดุลโดยเร็วที่สุด โดย
เฉพาะพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่า พื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เขตป่าสงวน
ดังนั้นหากเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นพลังสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การใช้ทรัพยากร
ของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพได้มีประสบการณ์ตรงจากสภาพที่เป็นจริงของท้องถิ่น ก็จะช่วยในการ
ฟื้นฟูและรักษาความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของประเทศ
ให้มั่นคงและยั่งยืนต่อไปได้
เป้าหมาย
. เด็กและเยาวชนทุกคนมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผลกระทบของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อการ
ดำรงชีวิต
. เด็กและเยาวชนทุกคนมีลักษณะนิสัยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้
อยู่ในสภาพที่ดี และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
กรอบการดำเนินงาน
. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่พบในท้องถิ่น
เช่น การใช้พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าถูกทำลาย ไฟป่า ควันพิษ เป็นต้น และการใช้
ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้น้ำ การใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
. จัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
. รณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความตระหนักและปลูกฝังจิตสำนึก ความรู้
ความเข้าใจในเรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้กับคนในท้องถิ่น
. จัดกระบวนการเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้สำรวจ เก็บข้อมูล วิเคราะห์คุณค่าของความ
หลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่น และจัดเวทีเพื่อให้เด็กเผยแพร่องค์ความรู้และ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
. ส่งเสริมการอนุรักษ์พื้นที่ป่าบริเวณใกล้โรงเรียนเพื่อการเรียนรู้ ตลอดจนการปลูกหญ้าแฝก
เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
วัตถุประสงค์ที่ ๖ เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์
และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเห็นว่าพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนามัก
เป็นชุมชนที่ก่อตั้งมาช้านาน มีความหลากหลายของเชื้อชาติที่มีวัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนภูมิปัญญา
ท้องถิ่นที่แตกต่างกันและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน จึงมีพระราชดำริที่จะปลูกฝังเด็กและเยาวชนให้
รู้จักรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม และวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นไว้ ป้องกัน
ไม่ให้สิ่งที่ดีงามเหล่านี้ถูกละเลยหรือถูกทำลายไปพร้อมๆ กับการพัฒนา และที่สำคัญคือจะนำมาซึ่งความ
ภาคภูมิใจ และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีงาม
เป้าหมาย
. เด็กและเยาวชนทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน
. เด็กและเยาวชนมีความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่าในมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของ
ท้องถิ่น และมีความรักท้องถิ่น
กรอบการดำเนินงาน
. ทำการสำรวจ เก็บข้อมูล บันทึก วิเคราะห์คุณค่าของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
. จัดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับ ภาษาท้องถิ่น วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
. จัดเวทีให้เด็กและเยาวชนได้เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ร่วมกัน
. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
ท้องถิ่น เช่น วันสำคัญทางประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น การแต่งกาย วัฒนธรรมทางอาหาร
โภชนาการ ดนตรี การแสดง กีฬา นิทานท้องถิ่น ภาษาท้องถิ่น พืชสมุนไพร พืชสีย้อมผ้า
เป็นต้น
แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ ๔ นี้ ได้จัดทำเป็นแผนระยะยาว ๑๐ ปี เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงาน
และการสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ที่มุ่งสู่การเสริมสร้างพลังและความเข้มแข็ง
ให้กับเด็กและเยาวชน ให้สามารถดูแลและพัฒนาตนเองได้อย่างสมดุลกันทั้งทางร่างกาย จริยธรรม
คุณธรรม และความรอบรู้ เพื่อนำแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติและผลักดันให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตาม
พระราชประสงค์ โดยการพัฒนาแบบองค์รวมและใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างประหยัดและให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุด จึงกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการและกรอบการดำเนินงานไว้ดังต่อไปนี้
. สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวพระราชดำริในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่น
ทุรกันดาร วัตถุประสงค์ของการพัฒนา ตลอดจนสาระสำคัญของแผนให้กับผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในทุกภาคส่วนในทุกระดับ เพื่อให้มีความเข้าใจที่ชัดเจนและตรงกัน สามารถร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนา
ไปในทิศทางเดียวกัน
. สนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาโดยเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้าร่วมใน
การพัฒนาแผนด้วย และประสานการจัดทำแผนสนับสนุนของภาคส่วนต่างๆ ให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน
อย่างเหมาะสม ขจัดความซ้ำซ้อนของแผน และต้องสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา โดย
ดำเนินการเป็น ๒ ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วง พ.. ๒๕๕๐๒๕๕๔ และ พ.. ๒๕๕๕๒๕๕๙
. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการประสานงานให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันกาล
โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและมีความโปร่งใส ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องมีจุดมุ่งหมายหลักร่วมกันที่จะ
พัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถพัฒนาตนเองได้ มีภูมิคุ้มกันที่ดี และมีศักยภาพในการ
เผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ มีระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่ทุกภาคส่วน
สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ และทุกภาคส่วนมีความคล่องตัวในการปรับบทบาทให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ซ้ำซ้อนกันแต่สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้
โครงสร้างในการประสานงานประกอบด้วย
ภาครัฐ
ส่วนกลาง ทำหน้าที่ประสานและอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล
ชุมชน ดำเนินกิจกรรมตามแผน รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณและวิชาการ
การนำแผนสู่การปฏิบัติ

ส่วนพื้นที่ (ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล) ทำหน้าที่ประสานแผนและงบประมาณระหว่าง
หน่วยงานส่วนกลางและสถานศึกษา นิเทศติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษา
สถานศึกษา ประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยงานในพื้นที่
ภาคเอกชน
สนับสนุน ให้การช่วยเหลือ ถ่ายทอดประสบการณ์ เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนา
ภาคชุมชน
สร้างความตระหนักและทัศนคติที่ดีในการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ความเป็นเจ้าของและความ
รับผิดชอบต่อสถานศึกษา ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติงานของสถานศึกษา ร่วมกิจกรรมพัฒนาของสถานศึกษา
สนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานของสถานศึกษา ทั้งนี้เพื่อการพึ่งตนเองในการพัฒนาได้ในอนาคต
. ปรับปรุงและพัฒนาระบบติดตามและประเมินผล พัฒนาตัวชี้วัดและเครื่องมือวัดที่
เหมาะสม พัฒนาระบบสารสนเทศโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารสำหรับนำ
มาใช้ในการปฏิบัติงาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่สามารถติดตามความก้าวหน้า
ของการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และจัดทำสรุปผลการดำเนินงานประจำปี จัดให้มีการสุ่ม
สำรวจและประเมินผลการดำเนินงานตามสภาพที่เป็นจริงของแต่ละสถานศึกษาเป็นระยะ อย่างน้อย
๒ ครั้งคือ ในปี พ.. ๒๕๕๔ และปี พ.. ๒๕๕๙ และเผยแพร่ผลการประเมินให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในทุกระดับ เพื่อ
เปิดโลกทัศน์ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ และพัฒนาขีดความสามารถด้านต่างๆ ทั้งในรูปของการ
ศึกษาเพื่อเพิ่มคุณวุฒิ การฝึกอบรมระยะยาว การฝึกอบรมระยะสั้น การศึกษาดูงาน การร่วมประชุมวิชา
การ และการจัดบุคลากรเข้าปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานของสถานศึกษาและพัฒนาบุคลากรให้ตรง
ตามภาระหน้าที่ อีกทั้งจะต้องสนับสนุนการเตรียมบุคลากรให้พร้อมในการถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับ
พื้นที่อื่นภายในประเทศ หรือประเทศอื่นที่ขอพระราชทานความช่วยเหลือ
. กำหนดนโยบายและมาตรการในการธำรงรักษาบุคลากรที่ปฏิบัติงานในทุกส่วนในทุก
ระดับ และสามารถนำสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมได้อย่างรวดเร็ว
. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้และการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำไป
ใช้ประโยชน์ทั้งในการพัฒนาเด็กและเยาวชน การจัดกระบวนการเรียนรู้ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดย
สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานทำงานวิจัยและพัฒนาจากงานประจำ และครูในสถานศึกษาดำเนินงาน
วิจัยในชั้นเรียน และต้องมีการสนับสนุนจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ
. กำหนดแนวทางในการถ่ายโอนสถานศึกษาที่ชัดเจน ทั้งในกรณีของการถ่ายโอน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการถ่ายโอนให้
กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อไม่ให้เด็กขาดโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้
หน่วยงานที่รับการถ่ายโอนสามารถสานต่องานพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ
ได้ภายหลังจากการมอบโอนแล้ว
__


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น